วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

คอสเซกชั่นพืช ราก ลำต้น ใบ


พริก 
    
                  ชื่อวิทยาศาสตร์Capsicum flutescens Linn.
                  ชื่อวงศ์: SOLANACAEAC
                 ชื่อสามัญ: Bird Chilli
                 ชื่อท้องถิ่น: พริกแต้  ดีปลีขี้นก  หมักเพ็ด
                 ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น
                  ลักษณะทั่วไป :
       ต้น :   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.
        ใบ :    เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม
     ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ 
ส่วน
              เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
      ผล :   ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง 
และมีแกนกลาง รอบ ๆแกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด
  
การขยายพันธุ์ :
โดยการเพาะเมล็ด


สรรพคุณ :
ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิดโดยการ
ใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้ง
ทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้
 เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน 
ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ
 เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนเป็น
เครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร
 บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ

คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
Cal
Moist ure
Protein
Fat
CHO
Fibre
Ash .
Ca
P
Fe 
A.I.U
B1 
B2
Niacin
C
Unit
%
Gm.
Gm.
Gm.
Gm.
Gm
mg.
mg.
mg.
mg.
mg.
mg.
mg.

54
81.9
3.4
1.4
7.1
5.2
0.9
4
14
12
2417
0.29
0.11
1.5
44

ข้อมูลทางคลีนิค :
http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด
แล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู
 รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ  ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง 
หรือสองวันต่อครั้ง

http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี 
เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด 
ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด
 จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียน
ของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้

http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ 
Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก 
โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น 
พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว   ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก
 จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum   ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีน
ได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา    
แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย

http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา 
แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด 
และอาการพวกนี้จะหายไป   เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน 
จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่
ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น    แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
โดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ   ห้องบนของหนูตะเภานั้น
จะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น

http://www.the-than.com/baner/mini/1552106il0fwtlx83.gif ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ 
จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น
 ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย 
และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาท
รับความรู้สึกทั่วไป




โครงสร้างภายในลำต้น



โครงสร้างภายในของลำต้น 
          ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
มีเฉพาะการเจริญขั้นแรก (primary growth) ไม่มีการเจริญขั้นที่สอง (secondary growth)
ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่มีการเจริญขั้นที่สอง
เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอด (apical meristem) จะแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส ซึ่งเซลล์เหล่าน
ี้เจริญเป็น primary meristem ประกอบด้วย protoderm procambium และ
ground meristem เซลล์จะยืดขยายและเจริญต่อเป็นเนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ
ประกอบด้วยบริเวณต่างๆ ดังนี้

1. Epidermis
เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด เจริญมาจาก protoderm ผนังเซลล์ด้านนอกหนา
เนื่องจากมีคิวตินมาเคลือบ และช่วยลดการสูญเสียน้ำทางลำต้นได้ บางเซลล
์เปลี่ยนแปลงเป็นขน trichome หรือ guard cell อิพิเดอร์มิสบางเซลล์อาจมีสีต่างๆ
เนื่องจากมีรงควัตถุอยู่ภายใน vacuole หรือ ใน cell sap

2. Cortex 
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจาก epidermis ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้นหลายชนิด เช่น
parenchyma collenchyma sclerenchyma ชั้น cortex ในลำต้นมักมีบริเวณแคบกว่า
ในรากและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีอาราเขตไม่แน่นอน เพราะจะพบ vascular bundle
อยู่ใกล้กับอิพิเดอร์มิสมาก ชั้นคอร์เทกอาจมีเพียง 1-2 ชั้นเท่านั้น
หน้าที่ของชั้นคอร์เทกขึ้นกับเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบ เช่น chlorenchyma ทำหน้าที่
ี่สังเคราะห์ด้วยแสง reserved parenchyma ทำหน้าที่สะสมอาหาร sclerenchyma
และ collenchyma ช่วยค้ำจุนให้ความแข็งแรง

3. Vascular bundle 
ลักษณะ Vascular bundle ในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
Primary growth: การเจริญแบบ primary growth ท่อลำเลียงน้ำและอาหารประกอบด้วย
primary xylem และ primary phloem ซึ่งเจริญมาจาก procambium และมีเนื้อเยื่อ
fascicular cambium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญอยู่ตรงกลาง ไซเลมจะอยู่ด้านในส่วนโฟลเอม
จะอยู่ด้านนอกติดกับคอร์เทก primary xylem ประกอบด้วย protoxylem และ metaxylem
โดย protoxylem อยู่ด้านในใกล้กับพิธแต่ metaxylem จะอยู่ถัดมาด้านนอกใกล้กับ
fascicular cambium ซึ่งการเรียงตัวของ primary xylem จะแตกต่างจากราก
(ในราก protoxylem จะอยู่ด้านนอกบริเวณปลายแฉก ส่วน metaxylem
ที่จะอยู่บริเวณด้านในใกล้ศูนย์กลาง)

Periderm ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด
    
1. Cork หรือ phellem เป็นเซลล์ที่อยู่ด้านนอก เซลล์มีลักษณะสี่เหลี่ยม มีชีวิตสั้น
ผนังเซลล์มีสารซูเบอรินและไขผึ้งเป็นส่วนประกอบมาก อาจมีลิกนินเล็กน้อยทำ
ให้มีคุณสมบัติคล้ายกับฉนวน กันความร้อน ป้องกันน้ำและแกสผ่าน ดังนั้นจึงนิยม
นำคอร์กมาใช้ประโยชน์ทางการค้า เช่น ปิดจุกขวดไวน์ หรือใช้เป็นแผ่นกันความร้อนได้
ต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นโอ๊กมีชั้นคอร์กหนามากสามารถลอกเป็นแผ่นๆ ได้
ซึ่งความหนาของชั้นคอร์กขึ้นกับชนิดพืช
2. Cork cambium หรือ phellogen เป็น secondary meristem ลักษณะเซลล์สี่เหลี่ยม
คล้ายกับ vascular cambium แบ่งตัวให้ cork cells และ phelloderm
3. Phelloderm ลักษณะคล้ายพาเรนไคมาทั่วไป มีผนังเซลล์บาง เป็นแบบ primary wall มัก
เกาะตัวกันหลวมๆ อยู่ด้านในที่ติดกับคอร์เทก

   
     กระพี้ (sap wood) และแก่นไม้ (heart wood)
เมื่อตัดตามขวางต้นไม้ที่มีอายุมากจะเห็นเนื้อไม้มีสีเข้มอยู่บริเวณตรงกลางของลำต้น
ประกอบด้วย xylem ที่อายุมาก และไม่ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำแล้ว มีสารประกอบต่างๆ
เช่น tannin มาสะสม มีความแข็งมาก เรียกเนื้อไม้ที่มีสีเข้มนี้ว่า แก่นไม้ ส่วนกระพี้จะ
เป็นเนื้อไม้ที่มีสีจางอยู่บริเวณด้านนอกและยังคงทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ





โครงสร้างภายในใบ



  สร้างภายในของใบ (Anatomy of leaf)

      1. Epidermis เป็นเซลล์ชั้นนอกสุด มีทั้งด้านบน (upper epidermis) และด้านล่าง 
(lower epidermis) ผนังเซลล์ด้านที่สัมผัสกับด้านนอกจะหนากว่าด้านใน ซึ่งช่วยป้องกัน
อันตรายจากภายนอก แผ่นใบที่แผ่แบนทำให้มีพื้นที่ที่สัมผัสกับแสงแดดได้มาก
พืชจะสูญเสียน้ำจากกระบวนการคายน้ำ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวพืชจึง
สร้างสารคิวตินเคลือบ เรียกชั้นของคิวตินนี้ว่า cuticle ผิวใบด้านบนหรือด้านหลังใบ
มักจะมีชั้นคิวติน นอกจากนี้ยังขึ้นกับชนิดของพืชและสิ่งแวดล้อมที่พืชขึ้นอยู่เช่น 
พืชที่มีการปรับตัวและเจริญในพื้นที่แห้งแล้งได้จะมีชั้น cuticle หนามาก 
อิพิเดอร์มิสเปลี่ยนแปลงเป็น guard cells อิพิเดอร์มิสนอกจากจะเปลี่ยนเป็น
ปากใบแล้วบางเซลล์อาจเปลี่ยนเป็นขน (hair) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว upper epidermis 
บางเซลล์เปลี่ยนเป็น bulliform cell 

      2. Mesophyll เป็นเนื้อเยื่อพื้นของใบอยู่ระหว่างอิพิเดอร์มิสทั้งสองด้าน (mesophyll 
มาจากคำว่า meso แปลว่า กลาง และ phyll แปลว่า ใบ) แบ่งเป็น 2 ชั้นคือ
Palisade mesophyll เซลล์มีรูปร่างรียาว หรือรูปตัวยูตั้งฉากกับอิพิเดอร์มิส อยู่ติดกับ
upper epidermis เซลล์อัดตัวกันแน่น มีประมาณ 1-3 ชั้น ภายในเซลล์มีเม็ดคลอโรพลาสต์
จำนวนมาก palisade mesophyll จึงเป็นส่วนที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้มาก 
พืชในต้นเดียวกัน ใบที่ได้รับแสงแดด (sun leave) มักจะมีพาลิเสดหลายชั้นกว่าใบร่ม
(shade leave) Spongy mesophyll เซลล์มีรูปร่างรี กลม อยู่ติดกับ lower epidermis เซลล์เกาะตัวกัน
อย่างหลวมๆ และไม่เป็นระเบียบ ภายในเซลล์มีเม็ดคลอโรพลาสต์ มักจะสังเคราะห์แสงได้
น้อยกว่าชั้นพาลิเสด เป็นส่วนที่แก๊ส (CO2) แพร่เข้าไปภายในใบพืช




ปากใบของพืช

ปากใบ  

  อังกฤษstomata คือรูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม guard cel  ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ
 ปากใบมีหน้าที่เป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศ ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่อยู่ล่างผิวใบเพราะพืช
สังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกทางปากใบ 
นอกจากนี้ ผิวใบด้านบนมีไขเคลือบอยู่หนาซึ่งช่วยลดการคายน้ำออกจากทางปากใบได้



          
        จบการนำเสนอ แล้ว ก๊าบบบบ










3 ความคิดเห็น: